ศัพท์ที่ต้องรู้ก่อนซื้อประกัน

คำศัพท์ประกันที่พบบ่อยๆ รู้ไว้ ก่อนซื้อ เพื่อเพิ่มความเข้าใจในการดูแผนประกัน

จำนวนเงินเอาประกันภัย

Sum insured

จำนวนเงินที่บริษัทประกัน ตกลงว่าจะจ่ายให้ผู้เอาประกันหรือผู้รับผลประโยชน์ตามแผนประกันกำหนด (ใช้กับประกันภัย)
remove_red_eye9.1K
อ่านต่อ

ค่าสินไหมทดแทน (เคลม)

Claims

การเยียวยาที่ต้องชดใช้ให้กับผู้เสียหาย ผู้ที่ถูกละเมิด หรือผู้ได้รับผลประโยชน์ ไม่ว่าจะชดใช้เป็นเงิน ทรัพย์สิน หรืออื่นๆ ตามที่ผู้เสียหายเรียกร้อง
remove_red_eye1.9K
อ่านต่อ

เบี้ยประกัน

Premium

เงินที่ "ผู้เอาประกัน" ต้องจ่ายให้บริษัทประกันในฐานะ "ผู้รับประกัน" เพื่อที่ผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองตามแผนประกันที่ตกลงไว้ และเลือกได้ว่าจะจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี
remove_red_eye1.1K
อ่านต่อ

ทุนประกัน

Sum Assured

จำนวนเงินที่ผู้ทำประกันหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับ เมื่อครบกำหนดปีที่ตกลงไว้หรือผู้เอาประกันเสียชีวิต (ใช้กับประกันชีวิต)
remove_red_eye1.8K
อ่านต่อ

ค่าใช้จ่ายส่วนแรก

Deductible

ค่าใช้จ่ายที่ผู้เอาประกันต้องจ่ายเองก่อนในก้อนแรก (ตามแผนประกันระบุ) หากมีค่าใช้จ่ายในการรักษาส่วนเกินจากก้อนแรก บริษัทประกันจะเป็นคนจ่ายส่วนที่เหลือให้ แต่ต้องไม่เกินวงเงินของแผนประกัน
remove_red_eye2.6K
อ่านต่อ

สิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ประกัน (Free look)

Free Look Period

ผู้เอาประกันมีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์สำหรับช่องทางตัวแทน และภายใน 30 วันสำหรับช่องทางการซื้อประกันทางโทรศัพท์ โดยส่งแบบฟอร์มขอยกเลิกและสำเนาบัตรประชาชน พร้อมส่งคืนกรมธรรม์เล่มจริงไปยังบริษัทฯ นั้นๆ หรือยื่นเรื่องเองที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทประกัน เมื่อบริษัทประกันรับเรื่องแล้ว กรมธรรม์จะไม่มีผลบังคับใช้ทันทีนับตั้งแต่วันเริ่มต้นประกัน และจะคืนเบี้ยให้เราเป็นขั้นตอนถัดไป ตามเงื่อนไขแต่ละบริษัทฯ กำหนด
remove_red_eye15.4K
อ่านต่อ

ชดเชยรายวัน, ชดเชยรายได้

HB (Hospitalization Cash Benefit)

ประกันที่ผู้ทำประกันจะได้รับเงินชดเชยรายวัน เมื่อพักรักษาตัวตามจำนวนวันที่นอนค้างในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ลักษณะการจ่ายเงินจากประกัน มักจ่ายเป็นรายวันตามจำนวนวันนอนพัก
remove_red_eye1.2K
อ่านต่อ

ค่าห้อง

R&B (Room and Board)

คือ ค่าใช้จ่ายค่าห้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล และค่าอาหารที่โรงพยาบาลจัดให้ในแต่ละวันที่รักษาตัว ประกันแต่ละชนิดมักจะกำหนดเพดานค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ชัดเจน เช่น ค่าห้อง 2,000 บาท หรือ 5,000 บาท เป็นต้น
remove_red_eye1.5K
อ่านต่อ

ผู้ป่วยนอก

OPD (Out-Patient Department)

OPD (Out-Patient Department) หรือ การรักษาแบบผู้ป่วยนอก คือการเข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล พบหมอ รับยา กลับบ้าน
remove_red_eye222.9K
อ่านต่อ

ผู้ป่วยใน

IPD (In-Patient Department)

IPD (In-Patient Department) หรือ การรักษาแบบผู้ป่วยใน คือการเข้ารับการรักษาแบบนอนรพ. โดยจะนับว่า admit เป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 6 ชม.ขึ้นไป หรือตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน
remove_red_eye448.8K
อ่านต่อ

มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่

New health standard

ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป มีกำหนดให้มีการบังคับใช้มาตรฐานประกันสุขภาพแบบอัพเดตใหม่เพื่อ 1. ปรับปรุงเนื้อหาของประกันให้สอดคล้องกับยุคสมัย และเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางการแพทย์ 2. ปรับปรุงเนื้อหาของประกันสุขภาพให้ตารางผลประโยชน์ของประกันสุขภาพจะหน้าตาเหมือนกันหมดในข้อมูลหลัก 13 หมวด สามารถนำตารางผลประโยชน์ของแต่ละเจ้ามาเทียบกันได้เลย 3. บริษัทประกันไม่สามารถปฏิเสธการต่ออายุได้ เว้นแต่ 3 กรณีนี้คือ: 3.1 กรณีมีหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัย (ตัวเรา) ไม่แถลงข้อความจริงตามใบสมัคร (ใบคำขอเอาประกันภัย) หรือคำขอต่ออายุ ใบเเถลงสุขภาพ และข้อแถลงเพิ่มเติมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการทำประกันสุขภาพ 3.2 ผู้เอาประกันภัย (ตัวเรา) ไปเคลมในส่วนของการรักษาโดยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ 3.3 ผู้เอาประกันภัย (ตัวเรา) เรียกค่าชดเชยรายวันรวมกันทุกบริษัทเกินรายได้ที่แท้จริง แต่ไม่ได้ให้บริษัทแบกค่ารักษาคนเดียว จะให้บริษัทฯเสนอแผนประกันแบบ co-pay จ่ายไม่เกิน 30% กับลูกค้าแทน เพื่อให้ลูกค้าได้ความคุ้มครองและบริษัทประกันลดความเสี่ยงของตัวเองด้วย วิน วิน กันไป 4. ถ้าเราตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม ที่จะไม่บอกบริษัทประกันก่อนว่าเราเป็นโรคอะไรบ้าง แล้วบริษัทมารู้ทีหลังภายใน 2 ปีที่ทำประกัน บริษัทมีสิทธิ์บอกล้างสัญญาและคืนเบี้ยทั้งหมด แต่หากมารู้ภายหลังจากสองปีไปแล้ว ก็ถือเป็นการยกประโยชน์ให้ผู้เอาประกัน 5. มีข้อยกเว้นลดลงในส่วนของการรักษาจากการบาดเจ็บในหน้าที่ของอาชีพเสี่ยง เช่น ทหาร ตำรวจ นักบิน แอร์โฮสเตส เป็นต้น รวมถึงลดข้อยกเว้นอื่นๆ เช่นเรื่องความคุ้มครองการทะเลาะวิวาท ให้คุ้มครองครอบคลุมขึ้นนั่นเอง
remove_red_eye886
อ่านต่อ

ศัพท์ที่ต้องรู้
ก่อนซื้อประกัน

(20)

ศัพท์ประกันที่มักเข้าใจผิด

คำศัพท์ประกันที่ดูเหมือนง่าย แต่ทำเราสับสนได้บ่อยๆ

ค่าใช้จ่ายส่วนแรก

Deductible

ค่าใช้จ่ายที่ผู้เอาประกันต้องจ่ายเองก่อนในก้อนแรก (ตามแผนประกันระบุ) หากมีค่าใช้จ่ายในการรักษาส่วนเกินจากก้อนแรก บริษัทประกันจะเป็นคนจ่ายส่วนที่เหลือให้ แต่ต้องไม่เกินวงเงินของแผนประกัน
remove_red_eye2.6K
อ่านต่อ

โรคเรื้อรัง

Chronic Disease

โรคที่หากเป็นแล้วจะไม่หายขาด อาจต้องรักษาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ หรือเป็นการรักษาตลอดชีวิต
remove_red_eye1.3K
อ่านต่อ

ชดเชยรายวัน, ชดเชยรายได้

HB (Hospitalization Cash Benefit)

ประกันที่ผู้ทำประกันจะได้รับเงินชดเชยรายวัน เมื่อพักรักษาตัวตามจำนวนวันที่นอนค้างในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ลักษณะการจ่ายเงินจากประกัน มักจ่ายเป็นรายวันตามจำนวนวันนอนพัก
remove_red_eye1.2K
อ่านต่อ

ค่าห้อง

R&B (Room and Board)

คือ ค่าใช้จ่ายค่าห้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล และค่าอาหารที่โรงพยาบาลจัดให้ในแต่ละวันที่รักษาตัว ประกันแต่ละชนิดมักจะกำหนดเพดานค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ชัดเจน เช่น ค่าห้อง 2,000 บาท หรือ 5,000 บาท เป็นต้น
remove_red_eye1.5K
อ่านต่อ

ผู้ป่วยใน

IPD (In-Patient Department)

IPD (In-Patient Department) หรือ การรักษาแบบผู้ป่วยใน คือการเข้ารับการรักษาแบบนอนรพ. โดยจะนับว่า admit เป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 6 ชม.ขึ้นไป หรือตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน
remove_red_eye448.8K
อ่านต่อ

ผู้ป่วยนอก

OPD (Out-Patient Department)

OPD (Out-Patient Department) หรือ การรักษาแบบผู้ป่วยนอก คือการเข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล พบหมอ รับยา กลับบ้าน
remove_red_eye222.9K
อ่านต่อ

เบี้ยประกัน

Premium

เงินที่ "ผู้เอาประกัน" ต้องจ่ายให้บริษัทประกันในฐานะ "ผู้รับประกัน" เพื่อที่ผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองตามแผนประกันที่ตกลงไว้ และเลือกได้ว่าจะจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี
remove_red_eye1.1K
อ่านต่อ

ทุนประกัน

Sum Assured

จำนวนเงินที่ผู้ทำประกันหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับ เมื่อครบกำหนดปีที่ตกลงไว้หรือผู้เอาประกันเสียชีวิต (ใช้กับประกันชีวิต)
remove_red_eye1.8K
อ่านต่อ

แบบประกัน

Insurance Plan

ความหมายจริงๆ คือ การจำแนกรูปแบบของประกันมีทั้งหมด 6 แบบ คือ 1) แบบชั่วระยะเวลา (Term Life Insurance) 2) แบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) 3) แบบสะสมทรัพย์ (Endowment/Saving Insurance) 4) แบบเงินได้ประจํา/แบบบํานาญ (Annuity Insurance) 5) แบบควบการลงทุน (Investment-linked life insurance) 6) แบบเฉพาะผู้สูงอายุ แต่เวลาใช้จริง มักจะใช้เป็นภาษาพูดที่ไม่ตรงความหมายขนาดนั้น โดยมักใช้เป็นคำเดียวกับ ""แผนประกัน"" ซึ่งหมายความรวมๆ ถึงการเรียกประเภทประกันโดยรวม เช่น แบบประกันสุขภาพ แบบประกันควบการลงทุน แบบประกันออมทรัพย์ หรือ บางครั้งก็ใช้เรียกชื่อประกันแบบเฉพาะเจาะจง เช่น แบบประกัน D-health เป็นต้น
remove_red_eye711
อ่านต่อ

ยินดีที่ได้รู้จัก! เราคือ Dict Prakan

ยินดีที่ได้รู้จัก! เราคือ Dict Prakan

คำศัพท์ประกันฉบับเข้าใจง่าย
พร้อมตัวอย่าง
หมดข้อสงสัยตอนซื้อ
และเคลมประกัน
รวบรวมคำศัพท์
จากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

คำศัพท์ทั้งหมด

ดูทั้งหมด

การผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน

(v.)

Day Surgery

คือ การผ่าตัดใหญ่ หรือทำหัตถการที่ใช้แทนการผ่าตัดใหญ่ได้ แต่เป็นการผ่าที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ผ่าแล้วกลับบ้านได้เลย เช่น การผ่าริดสีดวงทวาร, การผ่าไส้เลื่อนที่ขาหนีบ เป็นต้น
remove_red_eye2.7K

กรมธรรม์

(n.)

Policy

กรมธรรม์ คือเอกสารหลักฐาน และข้อมูลรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ ของแบบประกันที่เราได้ทำไป
remove_red_eye1.2K

การรับประกันภัย

(v.)

Underwriting

คือ การที่บริษัทรับประกันว่าหากเกิดเหตุตามที่ระบุในสัญญากรมธรรม์กับผู้ซื้อประกัน จะทำการจ่ายค่าชดเชยให้ตามตกลงในสัญญา โดยแลกกับค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้ซื้อประกันจะต้องจ่าย ดังนั้นเบี้ยประกันจะคำนวนจากความเสี่ยงของผู้ซื้อประกันแต่ละคน ตามอายุ, เพศ และสภาพร่างกาย ยิ่งมีความเสี่ยงมาก เบี้ยจึงจะสูงตามมากนั่นเอง
remove_red_eye1.8K

กรมธรรม์ที่ชำระค่าเบี้ยครบแล้ว

(n.)

Paid-up Policy

คือคำเรียกกรมธรรม์ที่ชำระเบี้ยครบแล้ว แต่ความคุ้มครองยังคงมีอยู่ตามสัญญาประกัน มักเกิดขึ้นกับประกันชีวิต และประกันออมทรัพย์
remove_red_eye1.6K

กู้กรมธรรม์อัตโนมัติ

(v.)

Automatic Premium Loan

เป็นการทำกู้ “อัตโนมัติโดยระบบ” โดยการเอามูลค่าเงินสดของกรมธรรม์ประกันชีวิตมาค้ำเพื่อกู้เงินออกมาใช้จ่ายเบี้ยประกันหากเรามีเหตุให้ไม่สามารถจ่ายได้ ณ ตอนนั้น (หรือบางคนคือลืมจ่ายก็มี) เพื่อให้ความคุ้มครองของเราต่อเนื่องไม่ขาดหาย
remove_red_eye2.5K

การผ่าตัดเล็ก

(v.)

Minor Surgery

คือ การผ่าตัดระดับผิวหนัง หรือชั้นใต้ผิวหนัง หรือชั้นเยื่อบุ โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ก็เพียงพอ เช่น การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าฝี เป็นต้น
remove_red_eye2.3K

การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง

(v.)

Targeted Therapy

เป็นวิธีการรักษามะเร็งแบบใหม่ที่ฆ่าเซลล์มะเร็งแบบเฉพาะจุด จึงกระทบกับเซลล์ดีอื่นๆ ในร่างกายเราน้อยกว่าการบำบัดด้วยคีโมปกติ ทำให้มีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์น้อยลง
remove_red_eye759

กายภาพบำบัด

(v.)

Physical Therapy

เป็นการฟื้นฟู และเสริมสร้างความสามารถในการใช้ร่างกายด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การดึง นวด ประคบ ร่วมกับการบริหารร่างกายสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ มีอาการปวด หรือได้รับผลข้างเคียงจากอาการเจ็บป่วยจนทำให้กระทบการใช้ชีวิตประจำวัน
remove_red_eye1.2K

การผ่าตัดใหญ่

(v.)

Major Surgery

คือ การผ่าตัดที่ผ่านผนังหรือช่องโพรงของร่างกายซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาสลบ หรืออาจใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนก็ได้ เช่น การผ่าตัดไทรอยด์, ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี, การตัดมะเร็งเต้านม(MRM), ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นต้น
remove_red_eye3.3K

การรักษาแบบประคับประคอง

(n.)

Palliative Care

วิธีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรคและครอบครัว โดยให้การบรรเทาอาการ รวมไปถึงลดความทุกข์ทรมานจากโรคที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้การรักษาแบบประคับประคองจะมุ่งเน้นการดูแลที่ครอบคลุมทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย รวมถึงครอบครัวของคนไข้ด้วย
remove_red_eye725

กู้กรมธรรม์

(v.)

Policy loan

การเอามูลค่าเงินสดของกรมธรรม์ประกันชีวิตมาค้ำ เพื่อกู้เงินออกมาใช้จ่ายเบี้ยประกัน หรือ เบิกเป็นเงินสดเพื่อไปใช้จ่ายอื่นๆ โดยความคุ้มครองชีวิตจะยังมีอย่างต่อเนื่องตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์ตราบที่เรายังจ่ายเบี้ยประกันตามปกติอยู่ และต้องชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในภายหลัง
remove_red_eye1.2K

ยังไม่มีคำศัพท์ในตัวอักษรนี้

ช่วยทัก LINE บอกพี่เรนนี่หน่อย..
ว่าอยากให้แปลคำว่าอะไร

ประกันเจ้าไหนดี เลือกยังไง

คำค้นหาสุดฮิตเวลาคนเลือกประกันคือ “ประกันสุขภาพ ที่ไหนดี” ก็ประกันมันช่างมีรายละเอียดเยอะ

ทำเรามึนทุกทีสินะ มึนตั้งแต่คำศัพท์ที่ไม่คุ้นหู ทั้ง เหมาจ่าย ทุนประกัน เบี้ยประกัน OPD IPD ชดเชยรายวัน กรมธรรม์ ไปจนถึงแบบประกันว่าต้องซื้อประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ประกันออมทรัพย์ ประกันโรงร้ายแรง ต้องซื้ออันไหนกันแน่ แต่ละอันก็มีรายละเอียดความคุ้มครองไม่เหมือนกัน แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราต้องซื้อยังไงแม้แต่เริ่มจะเปรียบเทียบประกันยังเริ่มไม่ถูกเลย รีวิวประกัน เลยทำวุ้นแปลภาษาประกัน มาเป็นตัวช่วยให้ทุกคนค่ะ ซึ่งก็คือ Dict Prakan นั่นเอง

Dict Prakan เป็นที่รวบรวมศัพท์ประกันต่าง ๆ ที่เจอได้ทั่วไปเมื่อต้องยุ่งเกี่ยวกับประกัน แล้วทำการแปลภาษาประกันเหล่านั้นเป็นภาษามนุษย์แบบที่คุณป้าข้างบ้านก็เข้าใจ แล้วยังยกตัวอย่างการใช้งานไว้ด้วย แถมคำแปลภาษาประกันแบบทางการที่อ่านไม่ค่อยรู้เรื่องไว้ด้วยเผื่อมีใครอยากแกะคำศัพท์เองเพิ่มเติม

อ่านคำแปลภาษาประกันแล้ว แต่ยังมึนกับการเลือก ประกันที่ไหนดี ให้วกกลับมาที่รีวิวประกัน ที่จะขยายความเข้าใจเกี่ยวกับประกันสุขภาพ ประกันออมทรัพย์ ประกันออนไลน์ แต่ละตัว แต่ละเจ้า ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพแยกค่าใช้จ่าย ประกันสุขภาพเหมาจ่าย หรือ ประกันเจอจ่ายจบ ก็มีทั้งหมด รีวิวประกันจะทำการรีวิวไส้ในของประกันแต่ละแบบที่ทำให้คุณสามารถเปรียบเทียบประกันด้วยตนเองง่ายๆ ให้คุณสามารถเลือกประกันที่ดี และเหมาะกับคุณที่สุด 

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีรีวิวประกันจากเพื่อน ๆ ที่ซื้อประกันตัวนั้น ๆ มาก่อน ที่จะมาคอมเม้นแบบเรียล ๆ ให้คุณได้รู้ insight ก่อนจะซื้อประกันจริง บริการหลังการขายดีมั้ย เคลมง่ายมั้ย รู้แบบนี้แล้วเริ่มค้นหาประกัน ที่ไหนดี ของคุณได้เลยที่นี่
Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่